แกงฮังเล ความคิดที่ซ่อนอยู่ในน้ำแกง

image

วันนี้ตอนผมจะเริ่มทำแกงฮังเล (ที่ยังไงก็ทำได้มานานแสนนาน) …ก็ยังอุตส่าห์เล่นอีกจนได้ ^^”

แกงฮังเล ที่เราคุ้นเคยนั้นเป็นอย่างไร?

– ฮังเลจะใช้ขาหมู(อร่อยสุดนะ) หรือไม่ก็สามชั้น (อันนี้ทำกันเยอะเพราะง่ายกว่า ได้เนื้อเยอะกว่าขาหมู) …แต่วันนี้ลองเอาหมูที่ติดกระดูกอ่อนมาทำทั้งหมด…จะได้เคี้ยวกระดูกนุ่ม ๆ ดึ๋ง ๆ ถ้าเคี่ยวได้ที่ และเนื้อก็มีมันแทรกเยอะ คงไม่แห้ง
– แกงฮังเล ที่เห็นกันบางคนใส่หัวหอมใหญ่ บางคนไม่ใส่ (แบบไหนถูกต้อง?)
– แกงฮังเล บางคนใส่ขิง ใส่ถั่ว …บางคน…ไม่เห็นมีเลย (แบบไหนถูกต้อง?)
– แกงฮังเล บางคนใส่มะเขือสีดา  บางคนใส่มะขามเปียก บางคนว่าถ้าใส่กระท้อนจะอร่อยสุด หาสดไม่ได้ก็เอากระท้อนแห้ง …เพื่อ?
– โบราณจะให้ใส่น้ำอ้อยใน แกงฮังเล บางคนให้ใช้น้ำตาลปี๊บ บางคนใช้น้ำตาลทราย บางคนให้ใส่ซีอิ๊วดำ บางคนไม่ใส่
– บางคนใส่กระเทียมดองใน แกงฮังเล บางคนใส่กระเทียมสด
เชื่อได้เลยว่าคนส่วนใหญ่ที่ทำแกงมานาน ๆ อย่างชำนาญ…ก็ยังไม่เคยคิดว่าเพราะอะไรการทำ แกงฮังเล ถึงแตกต่างกันแบบนี้? เพราะไม่ค่อยมีคน
มานั่งวิเคราะห์ มาแยกแยะเป็นข้อ ๆ แบบที่ผมเขียนด้านบนนี่…
ใครที่ศึกษาเรื่องการทำอาหารอาจจะเดาถูกแล้วนะครับว่า …เพื่ออะไร?  ^__^
รสชาติของแกง (Curry) ที่เดินทางจากอินเดียไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกนั้น ที่มันมีพัฒนาการออกไปหลากหลายก็เพราะ “การใช้วัตถุดิบที่คุ้นเคยในท้องถิ่นมาเพิ่มเติม” และ “การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นมาทดแทนรสชาติที่ขาดหายไป” นั่นเองครับ
ถ้ามีโอกาสเราจะมาคุยเรื่องพวกนี้กันยาว ๆ เลย…มันต้องคุยกันยาวจริง ๆ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบให้เห็นด้วย
ตอนนี้ดึกมากแล้ว…เพลีย 5555555
เอาเป็นว่าวันนี้ผมทำอะไรเล่นกับ แกงฮังเล ? …นอกจากส่วนของเนื้อหมูแล้ว ก็มีน้ำตาลทราย โมลาส ที่ใช้คู่กัน ^^
แล้วก็ใส่ “ส้มแขก (Garcinia atroviridis)” ของทางใต้ลงไปด้วย ^__^
สมมติว่า…เป็นการแทนรสชาติที่หายไปด้วยวัตถุดิบอย่างอื่น 😛
ผมว่ามันก็น่าจะออกมาไม่ผิดเพี้ยนไปเท่าไหร่…แต่อาจได้อะไรที่แปลกขึ้นไปกว่าเดิมนิดหน่อย
พรุ่งนี้คอยดูผลครับ 55555

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

*

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.